นับตั้งแต่วิกฤตไวรัสโคโรนา โควิด-19 อุบัติขึ้นในประเทศไทย แทบทุกวงการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดครั้งนี้
วงการกีฬาก็เช่นกัน เพราะการจัดการแข่งขันกีฬาไม่สามารถทำได้ เป็นเหตุให้นักกีฬาสมัครเล่น, นักกีฬาอาชีพ ต่างก็ขาดรายได้กันถ้วนหน้า
จะทำอย่างไรที่จะช่วยเหลือเยียวยานักกีฬา เป็นการบ้านที่การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ภายใต้การบริหารงานของ "ดร.ก้อง" ดร.ก้องศักดิ์ ยอดมณี ผู้ว่าการกีฬาแห่งประเทศไทย ถือว่าคิดเร็วทำเร็วทีเดียว เพราะนักกีฬาก็คือประชาชนอีกกลุ่มที่ควรได้รับการดูแลในยามวิกฤตเช่นนี้เหมือนกัน
ดร.ก้องระบุว่า หลังจากกระทรวงการคลับเห็นชอบปลดล็อกให้กลุ่มนักกีฬาและนักมวย มีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน เหมือนกับกลุ่มอาชีพอิสระ เพราะนักกีฬาเข้าข่ายอยู่ในกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จนต้องหยุดฝึกซ้อมและแข่งขัน จนขาดรายได้ไปด้วย ซึ่ง กกท. เตรียมเสนอขอใช้เงินจากกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ (บอร์ดกองทุนฯ) ราว 159 ล้านบาท เยียวยาบุคลากรกีฬา 3 กลุ่ม ทั้งกลุ่มเพื่อความเป็นเลิศ, กลุ่มอาชีพ และกลุ่มกีฬามวย โดยจะประชุมคณะกรรมการกองทุนพัฒนากีฬาแห่งชาติภายในมิถุนายนนี้
โดยนักกีฬาต้องขึ้นทะเบียนเป็นนักกีฬา บุคลากร หรือสโมสรกีฬาอาชีพในระบบของการกีฬาแห่งประเทศไทยก่อน ภายใน 31 พฤษภาคมนี้ ลงทะเบียนผ่านออนไลน์ได้หน้าเว็บ http://www.thaips.org/2020/05/19/ขั้นตอนการจดแจ้ง/???
เงื่อนไขการเยียวยานั้น กกท. วางระเบียบไว้อย่างรัดกุม เพื่อไม่ให้ซ้ำซ้อน กับโครงการ "เราไม่ทิ้งกัน" ของรัฐบาลก่อนหน้า เช่นบุคลากรกีฬาอาชีพที่มีสิทธิ์จะได้รับมาตรการช่วยเหลือ จะต้องไม่เป็นข้าราชการ, พนักงานของรัฐ, พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือ เป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่มีรายได้ประจำ หรือเป็นเจ้าของกิจการที่ยังประกอบกิจการอยู่ เนื่องจากเจตนาของการช่วยเหลือคือ การเยียวยานักกีฬา บุคลากรกีฬาอาชีพ ที่เคยมีรายได้ เคยมีเงินเดือน แต่ต้องขาดไป เพราะไม่มีการแข่งขัน
ถ้านักกีฬาอาชีพคนใดมีรายได้ หรือมีเงินเดือนประจำจากต้นสังกัดอยู่แล้ว อาจไม่เข้าข่าย
สโมสรฟุตบอลที่รับผลกระทบและมีสิทธิจะได้รับจะต้องเป็นสโมสรที่อยู่ในช่วงการเตรียมทีม หรืออยู่ในระหว่างการแข่งขันกีฬาอาชีพ และการแข่งขันถูกยกเลิก หรือเลื่อนออกไปจากสถานการณ์ของโรค Covid-19
และเคส นักฟุตบอลหรือบุคลากรกีฬาที่โดนยกเลิกสัญญา หรือไม่ได้รับเงินเดือนต้องรีบขึ้นทะเบียนเป็นนักกีฬา หรือบุคลากร เพราะถือว่าเป็นกลุ่มที่เข้าข่าย
ขณะที่สโมสรหรือสมาคมต้องลงทะเบียนในส่วนของผู้ได้รับผลกระทบเช่นกันตามข้อ 2 และจะได้รับเงินเยียวยาสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาทแต่อาจจะได้ไม่ถึง 500,000 เช่นกัน แล้วแต่ความเดือดร้อน
สำหรับนักกีฬาเป็นเลิศที่อยู่ในโครงการเตรียมนักกีฬาเพื่อคัดเลือกไปโอลิมปิกเกมส์ และพาราลิมปิกเกมส์ 2020 จะมีการปรับแผนและกระบวนการฝึกซ้อม กรณีที่ไม่สามารถมาฝึกซ้อมร่วมกันได้ ให้นักกีฬาฝึกซ้อมที่บ้านแทน (Train at Home) ซึ่งจะสามารถเบิกจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงได้ตามโครงการเก็บตัวฝึกซ้อมที่ กกท. วางแผนการเก็บตัวไว้ให้ ซึ่งเป็นงบประมาณเดิมที่มีอยู่แล้ว
ทั้งนี้ นักกีฬาอาชีพที่ตกหล่นหรือยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนนักกีฬาอาชีพหรือมวย หรือต่ออายุบัตรนักกีฬา สามารถลงทะเบียนออนไลน์ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนถึง 31 พฤษภาคม 2563
ส่วนสมาคมหรือสโมสรที่ได้รับผลกระทบ สามารถยื่นคำร้องได้จนถึง 31 พฤษภาคม 2563 เช่นกัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 0-2186-7111 ต่อ 8542-8544
เวลานี้ชีพจรของวงการกีฬาอาจจะสะดุดไปบ้างแต่น้ำใจของคนกีฬายังไหลบ่าช่วยเหลือกันยามลำบาก
เป็นอีกบทพิสูจน์ที่ย้ำชัดว่า กกท. ยังคงอยู่เคียงข้างนักกีฬาไทยเสมอ
กองประชาสัมพันธ์ การกีฬาแห่งประเทศไทย
พุธ 1 มิ.ย. 2565 00:00 [ 6,949]
อ่านต่อจันทร์ 18 เม.ย. 2565 00:00 [ 3,245]
อ่านต่อศุกร์ 8 เม.ย. 2565 00:00 [ 4,199]
อ่านต่อพฤหัสบดี 7 เม.ย. 2565 00:00 [ 4,549]
อ่านต่อศุกร์ 1 เม.ย. 2565 00:00 [ 16,872]
อ่านต่อ