Muaythai Music

เพลงปี่มวยไทย

ยกที่ 1

จะใช้เพลงแขกเจ้าเซ็นสองชั้น

Listen..
ยกที่ 4

เพลงปี่มวยไทย ยกที่ 2 ในช่วง 2 นาทีแรก จะนิยมใช้เพลงในสำเนียงแขก ซึ่งมีอัตราจังหวะชั้นเดียวหรือ 2 ชั้น และเมื่อเวลาใกล้หมดยกจะเป่าเพลงเชิดเพื่อให้เร้าอารมณ์ของนักมวย รวมทั้งเพื่อบอกว่าใกล้หมดเวลาหรือหมดยก

Listen..
ยกที่ 2

เพลงปี่มวยไทย ยกที่ 2 ในช่วง 2 นาทีแรก จะนิยมใช้เพลงในสำเนียงแขก ซึ่งมีอัตราจังหวะชั้นเดียวหรือ 2 ชั้น และเมื่อเวลาใกล้หมดยกจะเป่าเพลงเชิดเพื่อให้เร้าอารมณ์ของนักมวย รวมทั้งเพื่อบอกว่าใกล้หมดเวลาหรือหมดยก

Listen..
ยกที่ 5

เพลงปี่มวยไทย ยกที่ 2 ในช่วง 2 นาทีแรก จะนิยมใช้เพลงในสำเนียงแขก ซึ่งมีอัตราจังหวะชั้นเดียวหรือ 2 ชั้น และเมื่อเวลาใกล้หมดเวลา 1 นาทีสุดท้าย จะเป่าเพลงเชิดเพื่อให้เร้าอารมณ์ของนักมวย รวมทั้งเพื่อบอกว่าใกล้หมดเวลาหรือหมดยก

Listen..
ยกที่ 3

เพลงปี่มวยไทย ยกที่ 2 ในช่วง 2 นาทีแรก จะนิยมใช้เพลงในสำเนียงแขก ซึ่งมีอัตราจังหวะชั้นเดียวหรือ 2 ชั้น และเมื่อเวลาใกล้หมดยกจะเป่าเพลงเชิดเพื่อให้เร้าอารมณ์ของนักมวย รวมทั้งเพื่อบอกว่าใกล้หมดเวลาหรือหมดยก

Listen..

นักดนตรีปี่มวยในสนามมวยลุมพินี

"นักดนตรีปี่มวย"หมายถึงผู้ที่มีบทบาทหน้าที่ในการบรรเลงประกอบการชกมวยไทย ซึ่งเป็นศิลปวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาช้านาน โดยนักดนตรีปี่มวยคืออาชีพหนึ่งซึ่งมีความสำคัญ ในการปฏิบัติหน้าที่ในสายงานนักดนตรีปี่มวย สนามมวยลุมพินีเป็นสนามมวยที่เปิดเป็นสถานบันเทิงและอนุรักษ์วัฒนธรรมด้านกีฬามวยไทย ซึ่งมีอายุกว่า 57 ปี โดยมีวงดนตรีปี่มวยซึ่งอยู่คู่กับสนามมวยแห่งนี้มาช้านาน มีนักดนตรีปี่มวยมาบรรเลงสืบต่อกันมาตั้งแต่สนามมวยลุมพินี เริ่มต้นเปิดให้จัดการแข่งขันเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2499 จนถึงปัจจุบัน

พันโทเอิบ แสงฤทธิ์ เป็นหัวหน้าชุดในการเริ่มก่อตั้งสนามมวยลุมพินี โดยจัดมวยการกุศลเพื่อนำรายได้ไปบำรุงนักกีฬาหลายครั้ง จึงจัดตั้งสนามมวยชั่วคราว เปิดให้บริการเป็นเวลา 6 เดือน เมื่อสัญญาเช่าสนามมวยชั่วคราวหมดลง จึงมีการดำเนินการจัดการตามกฎกระทรวงมหาดไทยเพื่อยื่นขอใบอนุญาตในการจัดหาสถานที่และก่อสร้างสนามมวยลุมพินีในลักษณะสนามมวยถาวร

วงปี่มวยประกอบการชกมวยไทย

"วงดนตรีปี่มวย"หมายถึงวงดนตรีซึ่งมีหน้าที่บรรเลงประกอบการชกมวยไทย โดยมีเครื่องดนตรีในวงคือ ปี่ชวา 1 เลา กลองแขก 1 คู่ ฉิ่ง 1 คู่ วงดนตรีปี่มวยมีที่มาจากวงปี่ชวากลองแขกซึ่งใช้บรรเลงประกอบพิธีในพระราชสำนัก และบรรเลงประกอบกีฬาทั้ง ตะกร้อรอดบ่วง กระบี่กระบอง รำดาบ รวมถึงการนำมาบรรเลงประกอบมวยไทย ในการนำวงปี่ชวากลองแขกมาร่วมบรรเลงกับมวยไทยนั้นเรียกกันใหม่ว่าวงดนตรีปี่มวย คำว่า ”วงปี่มวย” ผู้วิจัยสันนิษฐานว่าเรียกกันในช่วงที่มวยไทยได้รับความนิยมจึงทาให้มีการตั้งชื่อที่คนทั่วไป เข้าใจง่ายขึ้น ส่วนการบรรเลงประกอบมวยไทยใช้เพลงประกอบดังนี้

  1. เพลงประกอบการรำไหว้ครูมวยไทย ก่อนที่จะเริ่มการแข่งขันนักมวยไทยทุกคนจะรำไหว้ครูมวยไทย เพื่อระลึกถึงพระคุณครูมวยไทยที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ โดยบทเพลงที่ใช้ในช่วงการรำไหว้ครูมวยไทยคือเพลงโยนในสะระหม่าไทย
  2. เพลงในระหว่างชกยกที่ 1 จะใช้เพลงแขกเจ้าเซ็นสองชั้น
  3. เพลงอัตราจังหวะสองชั้นทั่วไป เช่น แขกเชิญเจ้า พราหมณ์เข้าโบสถ์ หรือเพลงในอัตรา 2 ชั้นและชั้นเดียวใช้บรรเลงระหว่างยกที่ 2 ถึงยกที่ 5
  4. เพลงเชิด ใช้บรรเลงในระหว่างการชกซึ่งใกล้หมดเวลาทาการแข่งขันในยกสุดท้าย ส่วนของหน้าทับกลองที่ประกอบกับการบรรเลงคู่กับปี่ชวา โดยใช้กลองแขกบรรเลงนั้น ในวงปี่มวยนั้นจะมีการ แบ่งใช้หน้าทับดังต่อไปนี้
    1. หน้าทับโยน ใช้บรรเลงประกอบกับเพลงโยนซึ่งขณะบรรเลงอยู่ในช่วงของการรำไหว้ครูมวยไทย
    2. หน้าทับแขกเจ้าเซ็นสองชั้น ใช้เมื่อบรรเลงประกอบในเวลาทำการแข่งขันโดยจะตีหน้าทับเจ้าเซ็นไปตลอดไม่มีเปลี่ยน แม้ปี่ชวาจะบรรเลงเพลงใดๆก็ตาม
    3. หน้าทับเชิด ใช้บรรเลงในช่วงใกล้หมดเวลาในการแข่งขันยกสุดท้าย

กล่าวได้ว่าการบรรเลงแต่ละครั้งจะเริ่มต้นที่การเป่าเพลงโยน ให้นักมวยไหว้ครู ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1 ถึง 2 นาที จากนั้นเมื่อระฆังตีให้สัญญาณการชกยกที่ 1 นักดนตรีปี่มวยจะบรรเลงเพลงแขกเจ้าเซ็น ซึ่งจะสามารถบรรเลงเพลงนี้ในทุกๆยกจนถึงช่วง 1 นาทีสุดท้าย ธรรมเนียมปฏิบัติของการบรรเลงวงปี่มวยลุมพินีจะต้องเปลี่ยนเพลงบรรเลงไปเป็นเพลงเชิด ชั้นเดียว ซึ่งความหมายในการบรรเลงเพลงเชิดนั้นคือการแจ้งให้รู้เป็นสัญญาณว่าใกล้จะหมดเวลาในการแข่งขันชกมวย ในส่วนบทเพลงที่นักดนตรีปี่มวยลุมพินีบรรเลงในยกที่ 2 ถึง 4 และยกที่ 5 ในสองนาทีแรก เพลงไม่ได้ถูกกาหนดไว้ตายตัวว่าจะต้องใช้เพลงใดบรรเลง แต่โดยส่วนมากนักดนตรีปี่มวยสนามมวยลุมพินี เช่นจ่าสิบเอกช้อย เพิ่มผล สิบตรีสมนึก บุญจาเริญ พันโทเสนาะ หลวงสุนทร จ่าสิบเอกทวี ไทยพยัคฆ์ จะนิยมใช้เพลงในสาเนียงแขก ซึ่งมีอัตราจังหวะชั้นเดียวหรือ 2 ชั้น ซึ่งในบทเพลงสาเนียงอื่นๆนั้น สามารถนามาใช้ได้ไม่ได้ผิดแปลกอย่างใด ซึ่งเหตุผลที่ทาให้นักดนตรีปี่มวยลุมพินีนิยมการบรรเลงเพลงสาเนียงแขกนั้น มาจากการเริ่มต้นบรรเลงเพลงแรกในการแข่งขันยกที่ 1 เริ่มต้นด้วยเพลงแขกเจ้าเซ็น ซึ่งเป็นเพลงสาเนียงแขก จึงได้นิยมเลือกเพลงที่สาเนียงเดียวกันเป่าต่อไปยังยกต่อๆไปจนถึงจบ หรือเลือกเพลงลูกทุ่งหรือเพลงสมัยนิยมมาบรรเลงประกอบกับการชกมวย

วงดนตรีปี่มวย

(ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต)

สถานภาพนักดนตรีปี่มวยสนามมวยลุมพินี

วงดนตรีปี่มวยที่สนามมวยลุมพินีนั้นเกิดขึ้นมาพร้อมกับสนามมวยลุมพินี โดยวงดนตรีปี่มวยลุมพินี จะใช้นักดนตรีที่รับราชการในกองดุริยางค์ทหารบกตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง ผู้วิจัยจึงเล็งเห็นถึงบุคคลสาคัญที่เป็นอดีตข้าราชการกองดุริยางค์ทหารบก คือพันโทเสนาะ หลวงสุนทร ศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2555 โดยพันโทเสนาะหลวงสุนทร ได้ให้ข้อมูลกับผู้วิจัยเกี่ยวกับความเป็นมาของวงปี่มวยสนามมวยลุมพินีโดยแรกเริ่มว่า วงดนตรีปี่มวยจะใช้นักดนตรีไทยของกองดุริยางค์ทหารบกทั้งหมด ซึ่งนักดนตรีที่เข้ามาอยู่ในสังกัดกองดุริยางค์ทหารบกคือผู้ที่มีความรู้ ความสามารถด้านดนตรีไทยจากสานักบ้านดนตรีที่ตนเองเรียนมาตั้งแต่แรกเริ่ม ดังนั้นเมื่อมีงานเกี่ยวกับดนตรีและศิลปะการแสดง กองทัพบกหน่วยงานพัน. ร. มทบ. 11 หน่วยราบ ซี่งเป็นฝ่ายบังคับบัญชาของดุริยางค์ทหารบกในสมัยนั้น จะมีคาสั่งให้กองดุริยางค์ทหารบกจัดกาลังพลนักดนตรีที่มีความสามารถไปบรรเลง เช่น บรรเลงประกอบการชกมวยและกระบี่กระบองของทางกองทัพ ภายหลังมีสนามมวยลุมพินี จึงมีการบรรเลงวงปี่มวยประกอบการชกมวยที่สนามมวยลุมพินีเรื่อยมา

รายได้ของนักดนตรีปี่มวยช่วงแรกทางสนามมวยลุมพินีโดยการบริหารงานของพันโทเอิบ แสงฤทธิ์ นับ แต่พ.ศ. 2499 จ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงอยู่ที่ 20 บาท ซึ่งเป็นจานวนเงินที่ถือว่าเป็นรายได้พิเศษเพิ่มเติมจากรายได้หลักที่รับราชการทหาร นักดนตรีในวงปี่มวยทุกท่านจะได้รับเงินค่าเบี้ยเลี้ยงเท่ากันทั้งหมด ทั้งนี้จะมีการปรับค่าเบี้ยเลี้ยงเพิ่มขึ้นเรื่อยมาจนถึงช่วงของการเปลี่ยนแปลงหัวหน้าวง การปฏิบัติงานของนักดนตรีปี่มวยจะเริ่มงานตั้งแต่เวลา 18.00 น. เรื่อยไปจนถึงเสร็จสิ้นงานทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคู่มวยที่ชกในแต่ละวัน โดยปรกติจะอยู่ที่ 8 ถึง 10 คู่ โดยที่นักดนตรีปี่มวยท่านแรกคือจ่าสิบเอกช้อย เพิ่มผล เป็นผู้รับหน้าที่นี้ในช่วงแรกของวงโดยจ่าสิบเอก ช้อย เพิ่มผล รับราชการทหารในสังกัดกองดุริยางค์ทหารบก มีความเชี่ยวชาญในด้านเครื่องเป่าไทยอยู่ก่อนแล้ว เมื่อมีงานปี่มวยที่ลุมพินี ทางจ่าสิบเอกชวน ชอบชื่นสุข จึงได้ชักชวนให้เข้ามาอยู่ในวงดนตรีปี่มวยลุมพินี มีการปรับค่าเบี้ยเลี้ยงเพิ่มขึ้นเรื่อยมาจนถึงช่วงของการเปลี่ยนแปลงหัวหน้าวง

"ในสนามมวยลุมพินีเขาจะมีการให้เงินพิเศษ ซึ่งเป็นเงินที่เรียกว่าเงินเท่าซึ่งเงินในแต่ละครั้งเขาจะได้รับการสนับสนุนจากโปรโมเตอร์ในการจ่ายเงินค่าตัวของพนักงานทั้งหมดตามรายชื่อที่ส่งไป โดยทางสนามมวยกับโปรโมเตอร์เขาใช้วิธีการให้เงินเพิ่มพิเศษขึ้นมาจากเงินประจำที่ได้อยู่แล้ว โดยจะสังเกตได้ว่าถ้าวันไหนมีมวยคู่ที่มีชื่อเสียง เซียนมวยให้ความสนใจพนักงานทั้งหมดก็จะได้เงินเพิ่ม ก็ถ้าเก็บค่าบัตรได้ถึง 1 ล้าน ไม่เกินล้าน 2 แสน ก็จะได้เงินค่าเท่าพิเศษเพิ่มมาจากค่าเบี้ยเลี้ยงประจำอีก 200 บาท ถ้าเก็บค่าบัตรเข้าชมเกิน 1 ล้าน 2 แสนบาท ก็จะได้เพิ่มเป็น 400 บาท ถ้าถึง 2 ล้านบาท ก็จะได้เพิ่มเป็น 700 บาท ถ้าเก็บเงินได้ถึง 3 ล้านบาท ก็จะได้เพิ่มเป็น 1200 บาท โดยค่าตัวของคนปี่เดิมก็ 600 บาท ก็บวกเท่าไปตามที่บอก ซึ่งระบบเท่าแบบนี้มีมานานมากแล้วแต่เพิ่งมาเพิ่มเงินเท่าให้สูงขึ้นก็ 4 ปีมานี้ อยู่ในสมัยของนายสนามมวยพลตรีสุรไกรนี่ละ" (สมพงษ์ ภู่สร, สัมภาษณ์, 10 มกราคม 2557)

ทั้งนี้สถานภาพนักดนตรีปี่มวยของสนามมวยลุมพินี เป็นสิ่งที่ควรค่าที่ทางสังคมภายนอกควรได้รับรู้ไม่ว่าจะในยุคสมัยไหนความสามารถของนักดนตรีปี่มวยสนามมวยลุมพินียังได้รับการยกย่องจากผู้ที่พบเห็นอยู่เสมอ

อ้างอิงข้อมูลจาก วารสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มีนาคม-สิงหาคม 2558)

ภัทรพงศ์ เทพยรักษ์, ภัทรวดี ภูชฎาภิรมย์ เอกสารอ้างอิง